วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วงโยธวาทิต

วงโยธวาทิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงโยธวาทิต (อังกฤษ: Military Band) คำว่า "วงโยธวาทิต" ในภาษาไทยนั้น เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดย นายมนตรี ตราโมท ส่วนรากศัพท์ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Military Band โดยคำว่า Military หมายถึง กองทัพ คำว่า Band หมายถึง วงดนตรี มาจากคำว่า Banda ในภาษาอิตาเลียน ดังนั้น วงโยธวาทิต (Military Band) หมายถึง กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ วงโยธวาทิตแต่เดิมนั้นตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ทางทหารที่เรียกว่า "วงดุริยางค์ทหาร" ปัจจุบันวงโยธวาทิตได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถบรรเลงในงานต่างๆ ได้นอกเหนือจากการบรรเลงในกองทัพ

 

ประวัติ

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีแตรวง เป็นวงดนตรีขนาดย่อม ประกอบด้วยเครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ ในยุโรปสมัยกลางฝ่ายทหารใช้ปี่ชอร์ม (Shawms) และทรัมเป็ต ร่วมกับกลองในการเดินทัพออกสมรภูมิ ต่อมาก็เกิดการแบ่งออกเป็นสองพวก ทหารราบใช้ปิคโคโลกับกลอง ส่วนทหารม้านั้นใช้ทรัมเป็ตกับกลองหนัง
จนเกิดสงคราม 30 ปี ในยุโรป (ค.ศ.1618-1648) เจ้านายเยอรมันแห่งแบรนแดนเบิร์กให้จัดตั้งวงโยธวาทิตทหารขึ้น มีปี่ชอร์ม 3 คัน แตร ทรัมเป็ต แตรฝรั่งเศส และเครื่องกระทบ กลายเป็นวงโยธวาทิตที่ใช้ได้ทั้งการเดินทัพและนั่งบรรเลงกับที่ ต่อมาทั้งฝรั่งเศส และอังกฤษมีการใช้และดัดแปลงให้วงโยธวาทิตมีความครึกครื้นมากขึ้น โดยมีการแต่งเพลงขึ้นเฉพาะสำหรับการบรรเลงด้วยวงโยธวาทิต
หลังศตวรรษที่ 18 มีเครื่องดนตรีเกิดใหม่ โดยเฉพาะเครื่องเป่า เช่น โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน เข้ามามีบทบาทมากขึ้นและเพลงที่วงโยธวาทิตใช้บรรเลงเริ่มมีการนำเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาดัดแปลงให้วงโยธวาทิตนำมาบรรเลง และการนั่งบรรเลงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ลักษณะ
วงโยธวาทิต แบ่งตามลักษณะการบรรเลง ได้ดังนี้
  1. วงมาร์ชชิ่งแบนด์ (Marching Band) เป็นวงโยธวาทิตที่มีลักษณะการเดินบรรเลง เป็นแถวตอนลึก อาจบรรเลงเฉพาะวงหรือนำหน้าขบวนต่างๆ ที่ต้องการรูปแบบที่เป็นระเบียบ เข้มแข็ง เร้าใจ ส่วนมากจะนิยมบรรเลงเพลงมาร์ช
  2. วงนั่งบรรเลง (Concert Band) หมายถึง การนำวงโยธวาทิตมานั่งบรรเลงเป็นลักษณะของคอนเสิร์ต โดยนำบทเพลงที่เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงโยธวาทิตมาบรรเลง ลักษณะคล้ายวงออร์เคสตรา หรืออาจนำเอาบทเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับวงโยธวาทิต จึงทำมีอีกชื่อเรียกว่า วงซิมโฟนิค แบนด์ (Symphonic Band)
  3. วงแปรขบวน (Display) หมายถึง การนำวงโยธวาทิตมาบรรเลงประกอบการแปรแถว โดยผู้บรรเลงต้องเดินแปรรูปขบวนเป็นรูปต่างๆ ซึ่งเพลงที่ใช้บรรเลงต้องเหมาะสมกับรูปแบบที่แปรขบวนด้วย วงแบบนี้อาจมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า โชว์แบนด์ (Show Band)

เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงโยธวาทิต

ประเภทของเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงโยธวาฑิต มี 3 ประเภท ดังนี้
  • 1. เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments) ได้แก่ ปิคโคโล (Piccolo) โอโบ (Oboe) บาสซูน (Bassoon) คลาริเน็ต (Clarinet) เบสคลาริเน็ต (Bass Clarinet) อัลโตแซกโซโฟน (Alto Saxophone) เทเนอร์แซกโซโฟน(Tenor Saxophone) บาริโทนแซกโซโฟน (Bariton Saxophone) ฟลูต (Flute) และ อัลโตคลาริเน็ต (Alto Clarinet)
  • 2. เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Instruments)ได้แก่ ทรัมเป็ต (Trumpet) คอร์เน็ต (Cronet) ทรอมโบน (Trombone) เฟรนซ์ฮอร์น (French Horn) บาริโทน (Baritone) ยูโฟเนียม (Euphonium) ทูบา (Tuba) และซูซาโฟน (Susaphone)
  • 3. เครื่องกระทบ (Percussion Instruments) ได้แก่ กลองเล็ก (Snare Drum or SideDrum) กลองเทเนอร์ (Tenor Drum) กลองใหญ่ (Bass Drum) ฉาบ (Cymbals) ไซโลโฟน (Xylophone) กลอกเคิ่นสปีล (Glockenspiel) ทรัยเองเกิ้ล (Triangle) กลองทอมบา (Tomba) และกลองทิมปานี (Timpani) อ้างอิง
  • สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ. วงโยธวาทิต. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา. 2547

ทำไมยักษ์วัดแจ้งกับยักษ์วัดโพธิ์ ถึงได้ตีกัน มีคำตอบ

ยักษ์วัดแจ้งท้าตีท้าแทงกับยักษ์วัดโพธิ์

เคยได้ยินตำนานการตีกันระหว่างยักษ์วัดแจ้งกับยักษ์วัดโพธิ์ กันมั้ยเอ่ย...


เท่าที่เสือหลุมหลิมเคยได้อ่าน ได้ฟัง จากคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าก่อน..มีอยู่ว่า
เนื่องจากวัดทั้งสองอยู่ตรงข้ามกันพอดี มีแม่น้ำเจ้าพระยากั้นกลาง
วันหนึ่งยักษ์ทั้งสองเกิดพูดจาท้าทายกัน (ไม่รู้ว่าดูถูกสีผิวกันรึป่าว)
จนเป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้ตะลุมบอนกันจนบ้านเมืองราบเตียนเป็นหน้ากลอง
ต่อมาจึงเรียกบริเวณนั้นว่า “ท่าเตียน” 


ร้อนถึงยักษ์วัดพระแก้วต้องเข้ามาเป็นกรรมการเพื่อยุติ “ศึกมวยยักษ์” ดังกล่าว

เคยมีคนเอาเรื่องราวการตีกันของยักษ์วัดแจ้งกับยักษ์วัดโพธิ์ มาทำเป็นหนังเหมือนกัน
ชื่อหนังว่า “ท่าเตียน” 
แต่ยักษ์วัดโพธิ์ ที่เอามาตีกับยักษ์วัดแจ้งในหนังนั้นเป็นยักษ์จีน


แท้จริงแล้ว ยักษ์จีนนั้น เป็นแค่เพียงลิ่วล้อเฝ้าประตูวัด 
หรือทวารบาลที่ชื่อ "ลั่นถัน" เท่านั้น ซึ่งมีอยู่ประมาณ 32 ตน 
แต่จำไม่ได้ว่าในหนังใช้ตัวไหนไปรบกับยักษ์วัดแจ้ง



ยักษ์วัดโพธิ์แท้จริงแล้ว มีเพียงแค่ตัวเดียว มีผิวกายสีแดงขนาดประมาณศอกเท่านั้น ก็คือตัวที่เห็นในภาพนี่แหละหน้าตาอย่างเนี้ย.


หลายคนเคยมีคำถามว่า “แล้วยักษ์ฝ่ายไหนชนะ”
จากการที่ได้เดินสำรวจวัดทั้งสองในช่วงสงกรานต์
เสือหลุมหลิมขอฟันธงว่า...
การศึกครั้งนี้ฝ่ายยักษ์วัดแจ้งชนะ...คร้าบบบผม



ทำไมน่ะเหรอ...เพราะเสือหลุมหลิมไปเจอหลักฐานชิ้นสำคัญ
นั่นคือ

เหล่าเฉลยศึกที่ยักษ์วัดแจ้งจับมาขังไว้ภายในวัดเหล่านี้งัยล่ะ


ยักษ์วัดแจ้งจะจับเฉลยศึกที่จับมาได้จากวัดโพธิ์มาขังที่นี่ 
ตัวไหนมีอาวุธก็ทำการริบอาวุธซะ..อย่างตัวนี้โดนริบกระบี่


ตัวนี้ด้วย..

ตัวนี้ถูกตัดแขนด้วนเลย..

ตัวไหนซ่ามาก...ขัดขืนไม่ยินยอมจำนนแต่โดยดี
ก็จะถูกทุบด้วยกระบองเสียหัวแบะ อย่างนี้แหละครับ



ครุฑสัญชาติจีนตัวนี้ก็ด้วย ท่าจะขาโจ๋ไม่เบา ถือว่าตัวเองบินได้ เลยถูกตะบองพี่ยักษ์ทุบซะมือหักบินหนีกลับวัดโพธิ์ไม่ไหว
กลายเป็นนกพิการ ถูกจับให้ยืนตากแดดตากฝน อยู่ในกรงเขียวไปเลย



สำหรับคำถามที่ ทำไมพี่ยักษ์วัดแจ้งจึงเก่งจังน่ะรึ...
นี่งัยเหล่าลูกสมุนของพี่ยักษ์วัดแจ้ง ของเรา มีทั้ง ลิงและ ยักษ์


แถมมีเทวดาคอยช่วยอีกต่างหาก จะไม่ชนะได้งัย

แต่ถ้านับจำนวนกันจริงๆ แล้ว ทางฝั่งยักษ์วัดโพธิ์น่าจะได้เปรียบ
เพราะลำพัง ลั่นถัน ยักษ์จีนเฝ้าประตูก็ 32 ตนแล้ว
ยังมีพระเจ้าตา ฤษีดัดตน อีกตั้ง 80 ตนอีกด้วย
แต่พระเจ้าตา ไม่เล่นด้วยเนื่องจากเป็นผู้ทรงศีล


ขนาดไม่ได้ออกรบกับเขายังดัดตัวเองซะเกือบร้อยกระบวนท่า
ถ้าออกรบด้วยแล้วเกิดพลาดพลั้งโดนตะบองยักษ์เข้าไป
คงต้องออกแบบท่ากายภาพบำบัดอีกแหงมๆ.. 





อ้างอิงจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tigerlhumlim&month=10-2007&date=29&group=2&gblog=3

แนะนำตัว เกศนีย์ จ่ายหนู

 เกศนีย์ จ่ายหนู
ชื่อเล่น แตงโม
อายุ 21 ปี
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชหลักสูตรและการสอน สาขาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สีที่ชอบ ชมพู
คติ อดีตคือความฝันปัจจุบันคือความจริง
เริ่มการใช้ blog เป็นครั้งแรกมีสิ่งใดขาดตกบกพร่องขออภัยด้วยนะคะ




ชิวิตการเป็นนิสิต
ตั้งแต่ที่ได้เข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามแห่งนี้ก็มีทั้งเรื่องสุขและเศร้า ปะปนกันไป แต่ฉันก็ดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง ตั้งใจเรียนและหางานทำแบ่งเบาภาระพ่อแม่ แม้ไม่มากแต่ก็ ช่วยได้บ้าง การเรียนยังอีกไกล เราต้องสู้ต่อไป เพื่อนวันข้างหน้า ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนด้วยนะคะ สู้ๆ